google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page

โรคลมพิษ (Urticaria)

อัปเดตเมื่อ 27 พ.ค. 2563


😍โรคลมพิษ( Urticaria )😍 โรคลมพิษ คือ โรคหรือกลุ่มของโรคที่มีอาการทางผิวหนังที่มีลักษณะเป็นผื่นนูนและแดง (wheal and flare) และ หรือมีการบวมใต้ชั้นผิวหนัง (angioedema) เกิดได้จากหลายปัจจัย อาจเกิดจากสาเหตุที่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อยา ,อาหาร ,การติดเชื้อ ,สิ่งกระตุ้นทางกายภาพ (physical) หรือโรคในระบบอื่นๆ ของร่างกาย แต่โดยส่วนใหญ่มักตรวจไม่พบสาเหตุ 🥳อาการและอาการแสดง🥳 ผื่นลมพิษ (urticaria) มีลกัษณะจำเพาะ คือ ผื่นบวมนูน แดง (wheal and flare) มีขนาดไม่แน่นอน อาจคล้ายตุ่มยุง หรือมดกัด หรืออาจมีลักษณะคล้ายแผนที่ เกิดขึ้นที่บริเวณใดของร่างกายก็ได้ บางรายอาจมีอาการบวมใต้ชั้นผิวหนังที่เรียกว่า แองจิโออีดีมา (angioedema) ร่วมด้วย ซึ่งชอบเกิดบริเวณเนื้ออ่อน เช่น หนังตา ,ริมฝีปาก เป็นต้น อาการมักเกิดขึ้นทันทีทันใด มีอาการคันเด่น แต่ละผื่นมักจะจางหายไปภายใน 24 ชั่วโมงโดยไม่เหลือร่องรอยภายหลังผื่นยุบและผื่นมักจะเป็นๆหายๆ และย้ายตำแหน่งไปเรื่อยๆ กรณีหากมีภาวะแองจิโออีดีมาร่วมด้วย รอยโรคบวมอยู่นานเกินกว่า 24 ชั่วโมง และมีอาการ เจ็บร่วมด้วย 🍓โรคลมพิษแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดได้เป็น 2 ชนิด คือ 1. ลมพิษเฉียบพลัน (acute urticaria) คือ มีอาการผื่นลมพิษต่อเนื่องกันไม่เกิน 6 สัปดาห์ 2. ลมพิษเรื้อรัง (chronic urticaria) คือ มีอาการผื่นลมพิษอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกันมากกว่า 6 สัปดาห์ 🍎นอกจากนี้มีผื่นลมพิษที่เกิดจากปัจจัยทาง กายภาพ (physical urticaria) ▫️Cold urticaria วัตถุเย็น น้ำเย็น ลมเย็น ▫️Heat Urticaria ความร้อน ▫️Pressure urticaria แรงกด ▫️Solar urticaria แสงแดด ▫️Symptomatic dermatographim แรงขีดข่วน ▫️Vibratory angioedema แรงสั่นสะเทือน ▫️Contact urticaria สัมผัสสารภูมิแพ้ 🎯การวินิจฉัยโรค🎯 อาศัยการซักประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อการวินิจฉัยโรค หาสาเหตุ ปัจจัยกระตุ้น นอกจากนี้บางรายอาจต้องวินิจฉัย แยกโรคจากโรคที่สัมพันธ์กับโรคลมพิษหรือ syndromes ที่มีอาการหรืออาการแสดงของ ผื่นลมพิษ และ หรือแองจิโออีดีมา 🔴ขั้นตอนในการดูแลผู้ป่วยโรคลมพิษเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ -หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น 🍀อาการไม่รุนแรง -ให้ยาแก้คัน ทายาบรรเทาอาการ 🍀อาการรุนแรง -มีภาวะแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis) รักษาตามข้อบ่งชี้ ต้องระมัดระวังให้มาก ปรึกษาแพทย์เรื่องยาแก้ภาวะฉุกเฉิน Epi Pen ไว้ติดตัว -ฉีดยา epinephrine ,chlorpheniramine ,steroids ให้ยาแก้แพ้ คุมอาการ -ในกรณีเป็นมาก อาจให้ steroids กิน prednisolone 20-30 mg/วัน ให้ช่วงสั้นๆ ไม่เกิน 10 วัน -หลีกเลี่ยงยาAspirin,NSAIDS(ยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ),ACEI (ยาลดความดันโลหิตบางกลุ่ม),codein ,morphine 🔴การรักษาลมพิษเรื้อรัง หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น,ยาทาบรรเทาอาการคัน calamine lotion -ให้ยาแก้คัน ชนิดไม่ง่วง second generation antihistamine นาน 2-4 สัปดาห์ -ถ้าผื่นไม่ยุบให้เปลี่ยนชนิดยาแก้คัน หรือเพิ่มขนาดยาได้ถึง 4 เท่า นาน 2-4 สัปดาห์ 🍀ยาแก้คันที่เพิ่มขนาดได้ โดยไม่มีผลข้างเคียงมากได้แก่ desloratadine( aerius ) , levocetirizine (xyzal ), fexofenadine ( telfast ) ❌ในกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อยาให้ -systemic steroids ช่วงสั้นๆ -leukotrine antagonist เช่น monteluklast (singulair) นาน 2-4 สัปดาห์ ถ้าไม่ดีขึ้น ,หยุดยา -ยากลุ่มอื่นๆ เช่น cyclosporin ,omalizumab ควรส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีที่เป็นมาบ่อยๆควรให้ยาถ่ายพยาธิ , รักษาสุขภาพทางช่องปากไม่ให้ฟันผุ , ค้นหาโรคทางภูมิคุ้มกันอื่นๆ ส่ง lab ถ้าจำเป็นและมีข้อบ่งชี้ ❤️พยากรณืโรค❤️ 📍โรคลมพิษเฉียบพลัน หายได้เอง ในเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์ 📍โรคลมพิษเรื้อรัง มักเป็นๆหายๆ 50% หายภายใน 1 ปี 20 % เป็นๆหายๆนานกว่า 20 ปี...

คลินิกหมอศิริวรรณ 029965172


ดู 6,722 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page