google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page

โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น



🥶โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น 💥ความชุก โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี โดยกรมสุขภาพจิตพบมี ความชุกร้อยละ 1.6 โดยพบในวัยรุ่นหญิงมากกว่าวัยรุ่นชาย เล็กน้อย และจากการสำรวจโดยองค์การอนามัยโลกพบความชุก ร้อยละ 4.43 💦อาการโรคซึมเศร้า💦 วัยรุ่นอาจไม่สามารถบอกได้ว่ามีภาวะซึมเศร้า หรือมีอารมณ์เศร้า แต่ภาวะเศร้าในวัยรุ่นอาจแสดงออกมาในรูปแบบอาการอื่นๆ ได้แก่ • รู้สึกแย่ เศร้า หงุดหงิด หรือสิ้นหวัง • รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง • ไม่สนใจหรือไม่มีความสุขเวลาทำอะไร (ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่เคยชอบ) • รู้สึกแย่กับตัวเอง • นอนไม่หลับหรือหลับมากไป • จดจ่อกับอะไรได้ยาก เช่น อ่านหนังสือ • เบื่ออาหาร หรือ กินมากกว่าปกติ • พูดหรือทำอะไรช้า หรือกระวนกระวายมาก ❌อีกข้อที่สำคัญคือ เด็กวัยรุ่นมักไม่แสดงอาการซึมเศร้า เหมือนผู้ใหญ่ แต่อาจแสดงอาการ ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย 💢สาเหตุของโรคซึมเศร้า💢 สาเหตุของโรคซึมเศร้า มักไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่มักเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน 🌐ปัจจัยเสี่ยงของโรคซึมเศร้า🌐 ◾พันธุกรรม จากการศึกษาพบว่าเด็กที่พ่อแม่มีภาวะซึมเศร้า จะมีอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงกว่าเด็กทั่วไป ◾สารเคมีในสมอง ◾ปัจจัยแวดล้อมภายนอก หรือ ปัญหาทางจิตสังคม เช่น ปัญหาการเลี้ยงดู ความรุนแรงในครอบครัว การเลี้ยงดูลูกเชิงลบ ใช้คำตำหนิต่อว่าหรือการใช้อารมณ์ในการดูแลบุตร เกิดเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ ◾มุมมองต่อตนเอง และลักษณะการแก้ไขปัญหา พบว่าเด็กที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ และเด็กที่มีความวิตกกังวลสูง ◾ปัจจัยโรคทางกายอื่นๆ โรคทางกายหรือยาบางชนิด ส่งผลต่อฮอร์โมน และสารเคมีในสมองทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ 💊การรักษา💊 รับการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด Cr.กรมสุขภาพจิต https://youtu.be/QecRVT5sYTU

คลินิกหมอศิริวรรณ รังสิต 02 9965172

ดู 45 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page