google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page

พัฒนาการทางภาษาช้า Delayed Speech


👧พัฒนาการทางภาษาช้า Delayed Speech🧑


1.พัฒนาการทางภาษาช้าจริงไหม❓

2.มีพัฒนาการด้านอื่นช้าร่วมด้วยหรือไม่❓

3.สาเหตุที่คาดว่าจะเป็นได้❓

4.การวินิจฉัยและรักษา❓


1.พัฒนาการช้าจริงไหม (Significant delay)❓

ต้องเปรียบเทียบกับพัฒนาการของเด็กปกติ ว่าที่เด็กทำพัฒนาการนี้ได้เทียบเท่าเด็กปกติที่ต้องทำได้ตอนอายุกี่ปี ?

แล้วความเป็นจริงเด็กคนนี้อายุกี่ปีแล้ว ?

โดยแพทย์จะทำการประเมิน หา Development quotient DQ

🧡DQ = (Development age)/(Chronological age)× 100

มี significant delay ถ้า DQ < 70

และควรรีบส่งกระตุ้นพัฒนาการถ้า DQ < 75

Developmental age = อายุพัฒนาการที่ทำได้

Chronological age = อายุจริงในปัจจุบัน

ยกตัวอย่างเช่น เด็ก อายุจริง 2 ปี แต่พูดได้แค่เป็นคำโดด ๆ ซึ่ง เทียบเท่าอายุเด็กอายุ 1 ปี

แสดงว่า อายุพัฒนาการทางภาษาที่ทำได้ = 1 อายุจริง = 2

Language DQ = ½ ×100 =50 ถือว่าผิดปกติต้องรีบแก้ไข


✅ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ว่าโดยปกติแล้วพัฒนาการเด็ก ในแต่ละด้าน แบ่งใหญ่ๆเป็น 4 ด้าน

กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ,กล้ามเนื้อมัดเล็ก ,พัฒนาการทางภาษา ,พัฒนาการทางสังคม

💛เด็กควรทำได้เมื่ออายุ เท่าไหร่ ลูกเราช้าไปไหม❓

ง่ายๆให้ดูจากสมุดสุขภาพ สีชมพู หรือ สมุดบันทึกวัคซีนและการเจริญเติบโตนั่นแหละค่ะ มีไว้ให้อ่านทุกเล่ม

ถ้าช้าไปก็ ปรึกษาแพทย์ได้เลย

เมื่อทราบว่าเด็กมีพัฒนาการทางภาษาช้าจริง แล้ว


2.พัฒนาการด้านอื่นช้าด้วยหรือไม่ (Specific or Global delay)❓


ต้องมาดูว่า พัฒนาการ ด้านอื่น โดยเฉพาะ กล้ามเนื้อมัดเล็ก และ พัฒนาการทางสังคม ช้าร่วมด้วยไหม

ถ้าช้า ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กด้วย ก็อยู่ในกลุ่ม Global Delay Development

ถ้าช้า ด้านสังคมด้วย ก็อยู่ในกลุ่ม Autistic Spectrum Disorder

แต่ก็เจอเด็กที่มีการพัฒนาการผิดปกติร่วมกันหลายด้านได้บ่อยๆ



เช่นเดียวกันต้องเปรียบเทียบกับว่าเด็กอายุจริงเท่านี้ แล้วเค้ามีพัฒนาการด้านนั้นๆ เท่ากับเด็กอายุกี่ปี

มาคำนวณหาเป็นค่า DQ

ปกติจะมีข้อมูลอ้างอิงที่ใช้ประเมินกันทั่วโลก เช่น Denver Development Screening Test

Gesell Figure Drawing Test ,Gesell Block ,Draw A Person Test

(สนใจหาดูข้อมูลได้ง่ายจาก google)

ยกตัวอย่างเช่นกล้ามเนื้อมักเล็ก ดูจากการขีดเส้น ,วาดรูป ,การต่อไม้บล็อก

พัฒนาการทางสังคม ดูการมองสบตา ,การแสดงสีหน้า ,การชี้นิ้ว ,การเล่นสมมุติ เป็นต้น


3.หาสาเหตุที่คาดว่าจะเป็นได้

สาเหตุของพัฒนาการช้า

1 ไม่ทราบสาเหตุ 50 %

2.อีก 50 % มีได้ตั้งแต่ กรรมพันธุ์ ภาวะต่างๆในมารดาและเด็ก ตั้งแต่ก่อนคลอด ระหว่างคลอด และหลังคลอด


4.วินิจฉัย และรักษา


💚 ในเด็กพัฒนาการทางภาษาช้าอย่างเดียว💚

เนื่องจากพัฒนาการทางภาษา ต้องมีทั้งขั้นตอนการรับภาษา เข้าไปทำงานในสมอง แล้ว แสดงออกมา

Receptive language » processing » Expressive language

ฉะนั้นเราสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ


1.Isolated expressive language disorder

▪พยากรณ์โรคกีกว่า โตขึ้นจะสามารถพัฒนาทางภาษาได้เกือบเท่าปกติ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนในระบบใดๆ

2.Specific language impairment

▪กลุ่มนี้จะเสียทั้งกระบวนการรับภาษา Receptive language และ ขบวนการสื่อสาร Expressive language

▪พบได้ประมาณ 7-8% ในเด็กอนุบาล

▪มีปัญหาทั้งการพูด อ่าน เขียน

▪50-70 % พบมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้

▪มีโอกาสที่จะเป็น LD learning disability ทางการอ่าน เขียน เพิ่มขึ้น 6 เท่า

▪มีโอกาสที่จะเป็น LD learning disability ทางการคำนวณ เพิ่มขึ้น 4 เท่า


🛑แต้องอย่าลืมตรวจด้วย ว่า อวัยวะรับการได้ยินปกติไหม Hearing Test

⛔และปัจจุบันเน้นย้ำว่าต้องดู วิธีการ เลี้ยงดูเด็กด้วย เพราะสมัยนี้พบว่าเด็กอยู่กับ Electronic Devices มากเกิน

💔Excessive media consumption ก็ทำให้เด็กพูดช้า และพบเจอได้บ่อยมากในปัจจุบัน


✅ถ้าเราพบเด็กพูดช้า ต้องรีบจัดการแก้ไข กระตุ้น การพูด การร้องเพลง อ่านนิทานให้ฟัง

ส่งนัก ฝึกพูด แล้วนำวิธีฝึกมาใช้ที่บ้าน ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเด็กจะสามารถปรับตัวเข้าสู่ระบบการศึกษาและสังคมได้


💦นอกจากนี้ในเด็กกลุ่มพูดช้า มักจะมี ปัญหาอื่นๆร่วมด้วย Comorbid

เช่น ปัญหาสมาธิสั้น LD Learning Disability ปัญหาการควบคุมอารมณ์ตนเอง

การสร้างสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับผู้อื่น

ซึ่งต้องอาศัยความอดทน เข้าใจ ของทั้งผู้ปกครอง คุณครู และการดูแลของทีมสหวิชาชีพ

ถ้าครอบครัวใดมีบุตรหลาน ที่สังเกตว่าพัฒนาการช้า อย่าลืมเข้ามาปรึกษาปัญหากับป้าหมอนะคะ


☘ป้าหมอติดตามเด็กๆ กลุ่มนี้มาหลายคน พบว่าเด็กที่ได้รับการรักษา และจัดการปัญหาอย่างถูกวิธี มีพัฒนาการดีขึ้นอย่างชัดเจน

อดทน และสู้ๆ เป็นกำลังใจให้ เสมอ ค่ะ


Cr ผศ.พญ.พัฎ โรจนมหามงคล ผศ.พญ. สุรีลักษณ์ สุจริตพงศ์

คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

Comments


bottom of page