google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page

โศกนาฎกรรมเงียบ (A SILENT TRAGEDY) 😥

อัปเดตเมื่อ 25 เม.ย. 2563

แปลมาอีกทีนึงค่ะ ยาวหน่อยแต่ดีมากๆค่ะ 🙂

โศกนาฎกรรมเงียบ (A SILENT TRAGEDY) 😥

มีโศกนาฎกรรมที่กำลังเกิดขึ้นอย่างเงียบๆภายในครอบครัวหลายๆครอบครัว โดยที่คนในครอบครัวไม่รู้ตัว และมันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีค่าที่สุดของเรา นั่นคือ ลูกๆ หลานๆ ของเรา...

ปัจจุบันลูกหลานของเรากำลังมีสภาวะอารมณ์ที่รุนแรง! ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมานักวิจัยได้ให้สถิติที่น่าตกใจมาก เกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของความเจ็บป่วยทางจิตของเด็กๆและจำนวนเด็กที่เจ็บป่วยก็มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สถิติไม่โกหก: • เด็ก 1 ใน 5 คนมีปัญหาสุขภาพจิต • เด็กที่วินิจฉัยว่าเป็น ADHD เพิ่มขึ้น 43% • มีรายงานภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นเพิ่มขึ้น 37% • มีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 200% ในเด็กอายุ 10 ถึง 14 ปี

มันเกิดอะไรขึ้นและเราผู้ใหญ่ พ่อแม่ได้ทำอะไรผิดพลาดไปหรือเปล่า ⁉️

เด็กวันนี้กำลังถูกกระตุ้นมากเกินไปเพื่อให้มีพรสวรรค์ทางด้านวัตถุ แต่พวกเด็กๆถูกปิดกั้น ละเลย จากสิ่งที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้มีช่วงวัยเด็กที่ดีมีคุณภาพ (healthy childhood) เช่น

• พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีสุขภาพจิตที่ดี • การกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ โดยพ่อแม่ • มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ •โภชนาการที่สมดุลและการนอนหลับที่เพียงพอ •การเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหวกลางแจ้ง •การเล่นอย่างสร้างสรรค์ การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมโอกาสที่จะได้เล่นอย่างอิสระ และช่วงเวลาที่เด็กๆจะได้รู้สึกเบื่อเพื่อจะคิดหาวิธีการเล่นเพื่อแก้เบื่อ

🤖แต่ในหลายๆปีที่ผ่านมาเด็กๆถูกแทนที่สิ่งสำคัญเหล่านี้ด้วย....

•ผู้ปกครองที่วุ่นวายอยู่กับแต่อุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ •ผู้ปกครองที่ยอมทำตามและยอมอนุญาตให้เด็กๆเป็นคน "ปกครองโลก" และเป็นคนที่กำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆเอง •ความรู้สึกว่าเป็นเรื่องถูกต้องที่ตัวเองสมควรที่จะได้รับทุกสิ่งโดยที่ไม่ต้องทำอะไรหรือรับผิดชอบอะไรเลย •นอนหลับไม่เพียงพอและโภชนาการที่ไม่สมดุล •รูปแบบการใช้ชีวิตแบบขยับตัวน้อย (Sendentary Lifestyle) นั่งหน้า TV. หน้า Computer ไม่ออกไปข้างนอก อยู่แต่ในห้อง (อันตรายมาก) •การถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา มีเทคโนโลยีเป็นเพื่อนเป็นพี่เลี้ยง ได้สิ่งที่ต้องการทันทีและไม่มีช่วงเวลาที่น่าเบื่อ ถูกกระตุ้นตลอด

😥แล้วเราจะทำอย่างไรกันดี?

ถ้าเราต้องการให้ลูกของเราเป็นคนที่มีความสุขและมีสุขภาพดี (จริงๆ) พวกเราต้องตื่นได้แล้วและกลับไปสู่พื้นฐาน กลับไปสู่เบสิค และมันยังคงเป็นไปได้ที่จะแก้ไข

มีหลายครอบครัวเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากทำตามคำแนะนำต่อไปนี้:

1.กำหนดจำกัดขอบเขต ให้กับลูก และจำไว้ว่าคุณเป็นกัปตันของเรือ เป็นผู้นำครอบครัวไม่ใช่ลูก ลูกของคุณจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อรู้ว่าคุณสามารถควบคุมหางเสือได้ 2.ช่วยให้ลูกมีวิถีชีวิตที่สมดุล ที่เต็มไปด้วยสิ่งที่ลูกจำเป็นต้องมี ไม่ใช่แค่สิ่งที่ลูกต้องการ อย่ากลัวที่จะพูดคำว่า "ไม่" กับลูก ๆ ของคุณหากสิ่งที่พวกเขาต้องการไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น 3.ให้ลูกทานอาหารที่มีคุณค่าและลด จำกัดอาหารขยะทั้งหลาย 4.ใช้เวลากลางแจ้งอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงต่อวันในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การขี่จักรยาน การเดิน การออกกำลังกาย เล่นกีฬา สนามเด็กเล่นกลางแจ้ง ฯลฯ 5.ทานอาหารด้วยกันในครอบครัวทุกวัน โดยไม่มีสมาร์ทโฟนหรือเทคโนโลยีที่ทำให้เสียสมาธิ ซึ่งทำให้ทุกคนรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า 6.เล่นกับลูก ใช้เวลาด้วยกันในครอบครัว 7.ให้ลูกของคุณมีส่วนร่วมในการทำงานบ้าน ตามอายุของพวกเขา (พับเสื้อผ้า, แขวนเสื้อผ้า,ล้างจาน, กวาดบ้าน, ถูบ้าน ,จัดโต๊ะ, ให้อาหารสุนัข ฯลฯ ) 8.เข้านอนเป็นเวลา เพื่อให้แน่ใจว่าลูกของคุณได้นอนหลับเพียงพอ ความสำคัญจะมากยิ่งขึ้นสำหรับเด็กวัยเรียน 9.สอนลูกเรื่องความรับผิดชอบและเรื่องเสรีภาพ อย่าปกป้องลูกมากเกินไปจากความรู้สึกไม่พอใจ หงุดหงิด เสียใจหรือความผิดพลาดทั้งหมด ความเข้าใจผิดจะช่วยให้พวกเขาสร้างความยืดหยุ่นและเรียนรู้ที่จะเอาชนะความท้าทายในชีวิต 10.อย่าถือกระเป๋าหรือเป้สะพายหลัง หรือถือของให้ลูกๆ ถ้าลูกลืมการบ้านอย่าเอามาให้ อย่าปอกเปลือกกล้วยหรือเปลือกส้ม หรือทำอะไรให้ลูก ถ้าหากพวกเขาสามารถทำได้ด้วยตัวเอง แทนที่จะให้ปลาแต่สอนพวกเขาให้หาปลาเองเป็น 11.สอนลูกให้รู้จักรอและชะลอความพีงพอใจได้ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ได้ 12.ให้ลูกมีโอกาสได้พบ "ความเบื่อ" เนื่องจากความเบื่อหน่ายเป็นช่วงเวลาที่ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีแก้เบื่อ ไม่ต้องเป็นพ่อแม่ที่รู้สึกว่าต้องทำให้ลูกสนุกตลอดเวลา 13.อย่าใช้เทคโนโลยีเป็นวิธีแก้ความเบื่อของลูกและไม่ต้องสนองเมื่อลูกร้องขอ (ท่องไว้ความเบื่อก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์) 14.หลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีในระหว่างมื้ออาหารในรถยนต์ ในร้านอาหาร ในศูนย์การค้า ใช้ช่วงเวลาเหล่านี้เป็นโอกาสในการเข้าสังคมโดยการฝึกสมองให้รู้วิธีการทำงานเมื่ออยู่ในโหมด: "เบื่อ" (boredom) 15. เมื่อลูกเบื่ออาจจะช่วยจุดประกายไอเดียแก้เบื่อได้ 16.มีอารมณ์ร่วมกับลูก ไวต่อความรู้สึกของลูก และสอนให้พวกเขารู้จักควบคุมตนเองและสอนทักษะทางสังคม 17.ปิดโทรศัพท์ในเวลากลางคืนเมื่อเด็กต้องเข้านอนเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนจากสัญญานโทรศัพท์และสิ่งต่างๆ จากโทรศัพท์ 18.เป็นผู้ควบคุมหรือผู้ฝึกอารมณ์สำหรับลูก ๆ ของคุณ สอนพวกเขาให้รู้จักและจัดการความผิดหวังและความโกรธของตนเอง 19.สอนพวกเขาให้ทักทายคนอื่น การรอคิว ผลัดกันเล่น ผลัดกันใช้ แบ่งปัน การพูดขอบคุณและการขออย่างมีมารยาท การยอมรับความผิดพลาดและการขอโทษ อย่าบังคับให้ทำแต่เป็นแบบอย่างที่ดีของค่านิยมทั้งหมดนี้ 20.เชื่อมต่ออารมณ์กับลูก โดยการ- ยิ้ม กอด จูบ หอม จี้เอว หัวเราะ สนุก อ่านนิทาน เต้นรำ กระโดดเล่นกับลูกๆ

ถ้าเราอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกๆหลานๆของเราจริงๆ.... โปรดทำตามนะคะ 🙂

ขอบคุณที่ช่วยกันแชร์ค่ะ 🙇‍♂️

Article written by Dr. Luis Rojas Marcos Psychiatrist. https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=669567043510720&id=653944098406348



ดู 1,323 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page